วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2563


โควิด-19” (COVID-19

                                                                 
                                                                           

  • ไวรัสโคโรนา (Coronavirus) เป็นไวรัสที่ถูกพบครั้งแรกในปี 1960 แต่ยังไม่ทราบแหล่งที่มาอย่างชัดเจนว่ามาจากที่ใด แต่เป็นไวรัสที่สามารถติดเชื้อได้ทั้งในมนุษย์และสัตว์ ปัจจุบันมีการค้นพบไวรัสสายพันธุ์นี้แล้วทั้งหมด 6 สายพันธุ์ ส่วนสายพันธุ์ที่กำลังแพร่ระบาดหนักทั่วโลกตอนนี้เป็นสายพันธุ์ที่ยังไม่เคยพบมาก่อน คือ สายพันธุ์ที่ 7 จึงถูกเรียกว่าเป็น “ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่” และในภายหลังถูกตั้งชื่ออย่างป็นทางการว่า “โควิด-19” (COVID-19

อาการเมื่อติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือไวรัสโควิด-19  อาการของไวรัสโควิด-19 ที่สังเกตได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง ดังนี้

  1. มีไข้นั่นเอง
  2. เจ็บคอ
  3. ไอแห้ง ๆ
  4. น้ำมูกไหล
  5. หายใจเหนื่อยหอย

กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19

  • เด็กเล็ก (แต่อาจไม่พบอาการรุนแรงเท่าผู้สูงอายุ
  • ผู้สูงอายุ                                           
  • คนที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว โรคหัวใจ เบาหวาน โรคปอดเรื้อรัง
  • คนที่ภูมิคุ้มกันผิดปกติ หรือกินยากดภูมิต้านทานโรคอยู่
  • คนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานมาก (คนอ้วนมาก)
  • ผู้ที่เดินทางไปในประเทศเสี่ยงติดเชื้อ เช่น จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง  มาเก๊า สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม อิตาลี อิหร่าน ฯลฯ
  • ผู้ที่ต้องทำงาน หรือรักษาผู้ป่วย ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 อย่างใกล้ชิด
  • ผู้ที่ทำอาชีพที่ต้องพบปะชาวต่างชาติจำนวนมาก เช่น คนขับแท็กซี่ เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล ลูกเรือสายการบินต่าง ๆ เป็นต้น                                                

หากมีอาการโควิด19 ควรทำอย่างไร ?

    • หากมีอาการของโรคที่เกิดขึ้นตาม 5 ข้อดังกล่าว ควรพบแพทย์เพื่อทำการตรวจอย่างละเอียด และเมื่อแพทย์ซักถามควรตอบตามความเป็นจริง ไม่ปิดบัง ไม่บิดเบือนข้อมูลใด ๆ เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้องมากที่สุด
    • หากเพิ่งเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยง ควรกักตัวเองอยู่แต่ในบ้าน ไม่ออกไปข้างนอกเป็นเวลา 14-27 วัน เพื่อให้ผ่านช่วงเชื้อฟักตัว (ให้แน่ใจจริง ๆ ว่าไม่ติดเชื้อ)

วิธีป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่

  • หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอ จาม น้ำมูกไหล เหนื่อยหอบ เจ็บคอ
  • หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง
  • สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ
  • ระมัดระวังการสัมผัสพื้นผิวที่ไม่สะอาด และอาจมีเชื้อโรคเกาะอยู่ รวมถึงสิ่งที่มีคนจับบ่อยครั้ง เช่น ที่จับบน BTS, MRT, Airport Link ที่เปิด-ปิดประตูในรถ กลอนประตูต่าง ๆ ก๊อกน้ำ ราวบันได ฯลฯ เมื่อจับแล้วอย่าเอามือสัมผัสหน้า และข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ กระเป๋า ฯลฯ
  • ล้างมือให้สม่ำเสมอด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลอย่างน้อย 20 วินาที ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ไม่ต่ำกว่า 70% (ไม่ผสมน้ำ)
  • งดจับตา จมูก ปากขณะที่ไม่ได้ล้างมือ
  • หลีกเลี่ยงการใกล้ชิด สัมผัสสัตว์ต่าง ๆ โดยที่ไม่มีการป้องกัน
  • รับประทานอาหารสุก สะอาด ไม่ทานอาหารที่ทำจากสัตว์หายาก
  • สำหรับบุคลากรทางการแพทย์หรือผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 โดยตรง ควรใส่หน้ากากอนามัย หรือใส่แว่นตานิรภัย เพื่อป้องกันเชื้อในละอองฝอยจากเสมหะหรือสารคัดหลั่งเข้าตา

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2563

วิทยาการข้อมูล(Data Science)

 วิทยาการข้อมูล(Data Science)



วิทยาการข้อมูล (Data Science )คือ ศาสตร์ที่เกี่ยวกับการจัดการ จัดเก็บ รวบรวม ตรวจสอบ วิเคราะห์ วิจัย และนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปสู่ความรู้ที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง (Actionable knowledge) อย่างเช่น การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ กระบวนการดำเนินงาน ประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจ การวางแผนการตลาด และทิศทางขององค์กรในอนาคต

โดยหลักการแล้ว Data Science ประกอบขึ้นจากศาสตร์หลักๆ คือ Hacking Skill (สกิลเกี่ยวกับ Computer Programimg, Data Base, Big data Technologies)  Statistic & Math (ทักษะทางคณิตศาสตร์และสถิติศาสตร์)  Substantive Expertise (หรือ Domain Knowledge)  Presentation (ทักษะการนำเสนอข้อมูล) และ Visualization 

Data Science ไม่ใช่ศาสตร์ใหม่ แต่มันคือการนำความรู้เดิมที่มีอยู่มารวมและประยุกต์เข้าด้วยกันจนเกิดเป็นของใหม่ ด้วยลักษณะของข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในโลกปัจจุบัน การเข้ามาของ Internet of Things  หรือ Censor ต่างๆ ตลอดจน Social media ทำให้เกิดเป็นข้อมูลปริมาณมหาศาล และนำมาสู่ Data Science นั่นเอง


2.    ผลลัพธ์ที่ได้จาก Data Science 
- ค้นพบสิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อนจากข้อมูลที่ได้
- ได้ Predictive Model เพื่อนำไปปฏิบัติจริง
- สร้าง Data Product ใหม่ๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจ
- ช่วยให้ฝ่ายธุรกิจมีความมั่นใจและสามารถตัดสินใจได้ดีขึ้น


3 ที่มาของตำแหน่ง นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) 
ตำแหน่งงาน Data Scientist ถูกตั้งขึ้นโดย  DJ Patil และ Jeff Hammerbacher ในปี 2008 โดยทั้งคู่เป็น ผู้บุกเบิกการสร้างทีม Data Science ที่ LinkedIn และ Facebook และตอนนี้ DJ Patil ได้รับแต่งตั้งให้เป็น Chief Data Scientist of the United States ไปเรียบร้อย

ในปี 2012 วารสาร Harward Business Review  ตีพิมพ์บทความชื่อ Data Scientist: The Sexiest Job of the 21st Century ทำให้อาชีพนี้กลายเป็น Talk of the town ในวงการธุรกิจและวงการสื่อตั้งแต่นั้นมา และทำให้เกิดความต้องการจ้างงานจากวงการธุรกิจสูง จนขาดแคลนบุคคลากรทางด้านนี้เป็นอย่างมาก ถือเป็นอาชีพที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันในวงการธุรกิจ โดยที่ยังไม่มีการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยจริงจัง


4 ทักษะที่ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) ต้องมี 
นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล ต้องมี ทักษะความรู้แบบสหวิทยาการ (Interdisciplinary) หรือมีองค์ความรู้ในหลากหลายด้าน เช่น ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์และสถิติ การวิเคราะห์ข้อมูล ความเข้าใจทางธุรกิจ ความอยากรู้อยากเห็น ความคิดสร้างสรรค์ และความรู้เฉพาะสาขา (Domain Knowledge) สรุปคือ 
1 ความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science)
2 ความรู้ด้านคณิตศาสตร์และสถิติ (Math&Statistics)
3 ความรู้เฉพาะสาขา (Domain Knowledge)
4 ความอยากรู้อยากเห็นและความคิดสร้างสรรค์ (Curiosity & Creativity)

การจะหาคนที่เป็น Data Scientist หรือคนเดียวที่เก่งทุกอย่างแบบเต็มตัว ไม่ใช่เรื่องง่าย ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการทำงานเป็น ทีม Data Science ที่ประกอบด้วยคนที่เก่งแต่ละด้านมาอยู่ในทีมเดียวกัน

 





















































 

Big Data คือ 

        บิ๊กดาต้า (Big Data) คือคำนิยามของข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ทุกชนิดที่อยู่ในองค์กรของเราไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลบริษัท ข้อมูลลูกค้า Suppliers พฤติกรรมผู้บริโภค Transaction ไฟล์เอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมไปจนถึง รูปภาพ URLs ลิงค์ต่างๆที่คุณเก็บไว้ ฯลฯ ที่มีปริมาณมากจนกระทั่งซอฟต์แวร์ปกติทั่วไปไม่สามารถรองรับการเก็บข้อมูลหรือประมวลผลได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ 

        ซึ่งอีกนัยนึง Big Data คือเทคโนโลยีและสถาปัตยกรรมหรือ Platform ไอทีรุ่นใหม่ ซึ่งอาจมาในรูปแบบซอฟต์แวร์ ที่สามารถรองรับการจัดเก็บ การจัดการ กรองเลือกข้อมูล การวิเคราะห์ แสดงผล และการใช้งานข้อมูลที่มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้

             

 

  1. ที่มีปริมาณมาก (Volume) ปัจจัยข้อแรกแน่นอนว่าคำว่า Big Data มีคำว่า “Big” นั่นก็คือข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งรูปแบบ Online และ Offline ซึ่งส่วนมากแล้วจะมีปริมาณมากกว่าหน่วย TB (Terabyte) ขึ้นไป
  2. มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Velocity) ส่งผ่านข้อมูล Update กันอย่างต่อเนื่อง (Real-time) จนทำให้การวิเคราะห์ง่ายๆแบบ Manual เกิดข้อจำกัด หรือไม่สามารถจับรูปแบบหรือทิศทางของข้อมูลได้
  3. หลากหลายประเภทหรือแหล่งที่มา (Variety) หมายถึงรูปแบบของข้อมูลที่แตกต่างกันออกไป ทั้งในรูปแบบ ตัวอักษร วิดีโอ รูปภาพ ไฟล์ต่างๆ ฯลฯ และหลากหลายแหล่งที่มาเช่น Social Network หรือ Platform E- Commerce ต่างๆ
  4. ยังไม่ผ่านการประมวลผล (Veracity) ยังไม่ผ่านการ Process ให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลดิบ (Raw Data) ที่สามารถใช้สร้างประโยชน์ต่อองค์กรได้ 
       ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ที่มีคุณลักษณะข้างต้นนี้ ในอดีตที่ผ่านมายังไม่มีเครื่องมือมารองรับและจัดการ หรือยังไม่เคยนำมารวมกันเพื่อตั้งโจทย์ที่เป็นประโยชน์กับธุรกิจ ค้นหาผลลัพธ์ และผ่านกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลและดูความสัมพันธ์กันด้วยเครื่องมือที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดเป็นข้อมูลที่สามารถใช้งานได้จริง (Information) และเกิดประโยชน์กับธุรกิจ เมื่อบริษัทมีข้อมูลที่พร้อมและมีประโยชน์ ทำให้กระบวนการตัดสินใจของผู้บริหารมีความถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น





ประวัติส่วนตัว
ชื่อ น.ส.พรรณทิภา    สมรูป ม5/5 เลขที่ 28 
เกิดเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2546 
ชอบทาน   ข้าวผัดกระเพรา
ชอบสี         ดำ,ขาว